วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560

problem base learning

แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานของ PBL
แนวคิดในเรื่องของการเรียนรู้ ที่นักจิตวิทยาทางการศึกษา นามาเป็นประเด็นในการถกเถียงกันมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้เชิงพฤติกรรมนิยม (Behaviorist learning theory) ในกลุ่มนี้เชื่อว่า ความรู้มีอยู่มากมายในโลก แต่ความรู้ที่สามารถถ่ายโยงมายังผู้เรียนอย่างเป็นรูปธรรมนั้นมีเพียงเล็กน้อย การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง นักจิตวิทยาที่ได้รับการยอมรับกัน ในกลุ่มนี้ คือ สกินเนอร์ (Skinner)
2. กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้เชิงพุทธิปัญญานิยม (Cognitive learning theory) มีความเชื่อว่า
ความรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างที่มีลักษณะเฉพาะ (particular structure) กับสิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา (psychological environment) ของผู้เรียนแต่ละบุคคล การเรียนรู้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ปรับเปลี่ยนโลกภายในของตน โดยอาศัยกระบวนการปฏิสัมพันธ์ที่เกิดจากการรับความรู้ใหม่เข้าไปในสมอง หรือจากการปรับเปลี่ยนความรู้เก่าให้เข้ากับความรู้ใหม่ นักจิตวิทยาที่ได้รับการยอมรับแนวคิดมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือ เพียเจท์ (Piaget)
ในปี ค.ศ.1990 สหรัฐอเมริกาได้ประกาศให้ทศวรรษต่อไปเป็น ทศวรรษของสมองและทศวรรษของการศึกษา (The decade of brain and the decade of education) เนื่องมาจาก ผลการค้นคว้าวิจัยเรื่อง สมอง ทาให้นักการศึกษารู้ว่า สมองมนุษย์มีลักษณะเฉพาะเป็นแหล่งเก็บ เป็นแหล่งกาเนิดของพฤติกรรม เป็นอวัยวะที่มีความสลับซับซ้อนมากที่สุด ในร่างกายมนุษย์ สมองของคนเราสามารถรับเรื่องราวที่เกิดจากการเรียนรู้ ได้ทุกอย่าง (receive all education) และด้วยความแตกต่างกันของสมอง ส่งผลให้คนเรามีลักษณะของการเรียนรู้ (Learning style) ที่แตกต่างกัน จึงทาให้ วิธีการเรียนรู้ของมนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่างกันไป

ที่มา : www.youtube.com/playlist?list=PLZ0tMrC78_yNB5GnpuaBfi_LNY3R7_XLf


 ที่มา :การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning: PBL) เ อ ก ส า ร ป ร ะ ก อ บ ก า ร 
บ ร ร ย า ย โ ค ร ง ก า ร พั ฒ น า ก า ร เ รี ย น ก า ร ส อ น ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล สุวรรณน้อย
รองผู้อานวยการสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายวิชาการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น